สเต็มเซลล์ คืออะไร ชะลอวัยได้จริงไหม ช่วยรักษาโรคได้ไหม อันตรายไหม

       ถ้าพูดถึงเรื่องของความอ่อนเยาว์ ดูเด็กกว่าวัย สเต็มเซลล์ (Stemcells) ก็ถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่เริ่มเข้ามามีบทบาทและได้รับความนิยมมากยิ่งขึ้น ทั้งมีประโยชน์เป็นอย่างมากในด้านของการรักษาทางการแพทย์ ในปัจจุบันก็ยังมีการใช้สเต็มเซลล์ในหลายโปรแกรมเพื่อช่วยฟื้นฟูเซลล์และชะลอความเสื่อมของเซลล์ในร่างกาย

Table of Contents

สเต็มเซลล์ (Stemcells) คืออะไร

สเต็มเซลล์ (Stem cells) คือ เซลล์ต้นกำเนิดที่มีความสามารถในการเปลี่ยนแปลงเป็นเซลล์ชนิดต่างๆ ในร่างกาย เช่น เซลล์ผิวหนัง เซลล์กระดูก หรือเซลล์กล้ามเนื้อ เซลล์เหล่านี้ยังมีความสามารถในการซ่อมแซมและสร้างเซลล์ใหม่ได้ จึงทำให้สเต็มเซลล์เป็นที่สนใจอย่างมากในวงการแพทย์และความงาม โดยเฉพาะในการฟื้นฟูและซ่อมแซมเนื้อเยื่อที่เสียหายหรือเสื่อมสภาพ

สเต็มเซลล์ (Stemcells) มาจากไหนได้บ้าง

สเต็มเซลล์เป็นเซลล์ที่มีความสามารถเฉพาะตัวในการแบ่งตัวและเปลี่ยนแปลงไปเป็นเซลล์อื่นๆ ได้ ทำให้สามารถช่วยซ่อมแซมเนื้อเยื่อหรืออวัยวะที่เสียหายได้ ไม่ว่าจะเป็นเซลล์ผิวหนัง เซลล์กล้ามเนื้อ หรือเซลล์ในอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย การรักษาด้วยสเต็มเซลล์เป็นทางเลือกใหม่ที่กำลังได้รับความสนใจมากขึ้น เพราะมีศักยภาพในการช่วยฟื้นฟูร่างกายให้กลับมามีสภาพใกล้เคียงกับเดิม ซึ่งสามารถหามาได้จากหลายแหล่ง เช่น

  • สเต็มเซลล์จากเลือดสายสะดือ (Umbilical Cord Stem Cells) ซึ่งเก็บได้จากทารกแรกเกิด มีความสามารถในการเปลี่ยนแปลงเป็นเซลล์หลากหลายชนิด มีศักยภาพในการช่วยฟื้นฟูผิวพรรณ ทั้งยังเพิ่มความชุ่มชื้นและความยืดหยุ่นของผิวด้วย
  • สเต็มเซลล์จากไขกระดูก (Bone Marrow Stem Cells) ซึ่งพบในผู้ใหญ่ สามารถช่วยกระตุ้นการสร้างเซลล์ผิวใหม่ การเพิ่มการผลิตคอลลาเจน การลดการอักเสบและช่วยฟื้นฟูสภาพผิว เป็นต้น
  • สเต็มเซลล์จากเนื้อเยื่อไขมัน (Adipose-Derived Stem Cells หรือ ADSCs) โดยทั่วไปการเก็บสเต็มเซลล์ชนิดนี้มักมาจากการดูดไขมันส่วนเกิน เช่น บริเวณหน้าท้องหรือต้นขา ซึ่งหลังจากการสกัดแล้ว สเต็มเซลล์จากเนื้อเยื่อไขมันจะถูกนำมาใช้เพื่อช่วยฟื้นฟูและซ่อมแซมเนื้อเยื่อ รวมถึงการนำไปใช้ในด้านความงามและฟื้นฟูผิวพรรณ
  • สเต็มเซลล์จากตัวอ่อนที่ได้จากตัวอ่อนมนุษย์ (Embryonic Stem Cells) มีศักยภาพสูงในการรักษา สามารถเปลี่ยนแปลงเป็นเซลล์ได้หลากหลายชนิด เช่น เซลล์ผิวหนัง เซลล์กล้ามเนื้อ หรือเซลล์ในอวัยวะต่างๆ ความสามารถนี้ทำให้สเต็มเซลล์จากตัวอ่อนมีความโดดเด่นและได้รับความสนใจทั้งในแวดวงการแพทย์และความงาม
  • สเต็มเซลล์ชนิดเหนี่ยวนำ (Induced Pluripotent Stem Cells หรือ iPSCs) เป็นเซลล์จากเนื้อเยื่อผู้ใหญ่ เช่น เซลล์ผิวหนังหรือเซลล์เลือด ที่ถูกดัดแปลงทางพันธุกรรมให้กลับมาอยู่ในสภาพที่คล้ายกับสเต็มเซลล์ตัวอ่อน

สเต็มเซลล์ (Stemcells) แบบฉีดหน้าคืออะไร

การฉีดสเต็มเซลล์บนใบหน้า คือกระบวนการที่นำสเต็มเซลล์ไปฉีดเข้าที่บริเวณใบหน้าเพื่อช่วยฟื้นฟูผิวหนัง ซ่อมแซมเนื้อเยื่อ และกระตุ้นการผลิตคอลลาเจน ซึ่งมักใช้เพื่อทำให้ผิวดูอ่อนเยาว์ ลดริ้วรอย และกระชับใบหน้า การใช้สเต็มเซลล์ในรูปแบบนี้กำลังได้รับความนิยมในแวดวงความงาม เพราะผลลัพธ์ทำให้ผิวดูสดชื่นและอ่อนกว่าวัย

  • กระตุ้นการสร้างคอลลาเจน ทำให้ผิวหน้าดูกระชับขึ้น
  • ช่วยลดเลือนริ้วรอย ร่องลึก และผิวหย่อนคล้อย
  • ฟื้นฟูผิวที่เสื่อมสภาพจากแสงแดดหรืออายุ
  • เพิ่มความชุ่มชื้นและความยืดหยุ่นให้แก่ผิว
  • ฟื้นฟูสภาพผิวโดยไม่ต้องทำการผ่าตัดใหญ่

สเต็มเซลล์ (Stemcells) แบบดริปคืออะไร

การดริปสเต็มเซลล์ คือกระบวนการฉีดสเต็มเซลล์เข้าสู่ร่างกายทางหลอดเลือดดำ โดยสเต็มเซลล์จะไหลเวียนผ่านระบบเลือดไปทั่วร่างกาย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกระตุ้นการซ่อมแซมเนื้อเยื่อที่เสียหาย ฟื้นฟูเซลล์ในร่างกาย และเสริมสร้างสุขภาพโดยรวม การดริปสเต็มเซลล์บางครั้งอาจถูกใช้เพื่อชะลอวัยและเพิ่มความกระปรี้กระเปร่าอีกด้วย

สเต็มเซลล์ (Stemcells) แบบฉีดเฉพาะบริเวณคืออะไร

การฉีดสเต็มเซลล์เฉพาะบริเวณ คือการนำสเต็มเซลล์ไปฉีดในตำแหน่งที่มีความเสียหายหรือบาดเจ็บ เช่น ข้อเข่าที่เสื่อม หรือแผลที่ไม่สามารถหายได้ดี การฉีดสเต็มเซลล์เฉพาะจุดจะช่วยซ่อมแซมเซลล์และฟื้นฟูสภาพเนื้อเยื่อในบริเวณนั้นได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นกว่าการดริปทั่วร่างกาย

  • ฟื้นฟูเนื้อเยื่อที่เสียหาย ช่วยซ่อมแซมและสร้างเซลล์ใหม่ในบริเวณที่บาดเจ็บหรือเสื่อมสภาพ
  • ลดการอักเสบ โดยสเต็มเซลล์มีคุณสมบัติในการลดการอักเสบในเนื้อเยื่อ
  • กระตุ้นการผลิตคอลลาเจน ช่วยฟื้นฟูความยืดหยุ่นของผิวและเนื้อเยื่อ

สเต็มเซลล์ (Stemcells) ช่วยชะลอวัยได้ไหม

สเต็มเซลล์มีศักยภาพในการชะลอวัย (Anti-aging) ผ่านการฟื้นฟูและซ่อมแซมเนื้อเยื่อที่เสื่อมสภาพ กระตุ้นการสร้างคอลลาเจนและเซลล์ใหม่ ทำให้ผิวหนังดูอ่อนเยาว์ กระชับ และลดเลือนริ้วรอย อย่างไรก็ตามผลลัพธ์นั้น ก็จะขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล และไม่สามารถหยุดกระบวนการชราภาพได้อย่างสมบูรณ์

สเต็มเซลล์ (Stemcells) รักษาโรคได้จริงไหม

สเต็มเซลล์มีศักยภาพในการรักษาโรคได้ในหลายประเภท โดยเฉพาะโรคที่เกี่ยวกับระบบเม็ดเลือดและการเสื่อมสภาพของเนื้อเยื่อ แต่การใช้สเต็มเซลล์ในการรักษาโรคนั้นขึ้นอยู่กับชนิดของสเต็มเซลล์และโรคที่ต้องการรักษา ปัจจุบันมีการนำสเต็มเซลล์มาใช้ในวงการแพทย์อย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะการรักษาโรคที่ไม่สามารถรักษาได้ด้วยวิธีการทั่วไป เช่น โรคเลือด โรคระบบประสาท และการฟื้นฟูหลังการบาดเจ็บ เป็นต้น

สเต็มเซลล์ (Stemcells) จากตัวเองหรือคนอื่นดีกว่ากัน

การใช้สเต็มเซลล์จากตัวเองมีข้อดีคือ ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดปฏิกิริยาปฏิเสธของร่างกาย แต่ในบางกรณี เช่น การรักษาโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกันหรือโรคทางพันธุกรรม หรือการใช้สเต็มเซลล์ในการฉีดใบหน้า การใช้สเต็มเซลล์จากคนอื่นอาจเป็นตัวเลือกที่ดีกว่า ทั้งนี้ การตัดสินใจและการประเมินนั้นก็ขึ้นอยู่กับวิจารณญาณของแพทย์ แหล่งที่มาของสเต็มเซลล์ที่มีความปลอดภัยในการฉีด ผ่านการทดลอง ได้มาตรฐาน ตัวเซลล์ที่ฉีดเข้าไปไม่มีการต่อต้านกับคนที่ได้รับและทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ รวมถึงลักษณะของโรค หรือปัญหาด้านสุขภาพด้วย การเลือกสเต็มเซลล์จากแหล่งที่มีมาตรฐาน ผ่านการทดสอบ ทดลอง และวิจัย ในด้านความปลอดภัยและได้รับการยอมรับ ประกอบกับการประเมินจากแพทย์ผู้ชำนาญการจึงเป็นเรื่องสำคัญสำหรับการฉีดสเต็มเซลล์เป็นอย่างมาก

            สเต็มเซลล์ (Stem cells) คือเซลล์ต้นกำเนิดที่มีความสามารถในการซ่อมแซมและสร้างเซลล์ใหม่ได้ จึงเป็นที่สนใจทั้งในวงการแพทย์และความงาม แหล่งที่มาของสเต็มเซลล์สามารถมาจากเลือดสายสะดือ ไขกระดูก เนื้อเยื่อไขมัน และตัวอ่อน สเต็มเซลล์ถูกนำมาใช้ในหลากหลายรูปแบบ เช่น การฉีดใบหน้า การดริปทางหลอดเลือด หรือการฉีดเฉพาะบริเวณที่ต้องการซ่อมแซม ช่วยฟื้นฟูเซลล์ผิว ลดเลือนริ้วรอย และซ่อมแซมเนื้อเยื่อที่เสียหาย รวมถึงมีศักยภาพในการรักษาโรคหลายชนิด อย่างไรก็ตาม การใช้สเต็มเซลล์ควรอยู่ภายใต้คำแนะนำของแพทย์ผู้ชำนาญการ

            สำหรับใครที่สนใจในการรักษาหรือฟื้นฟูด้วยสเต็มเซลล์ และต้องการรับคำปรึกษาเพิ่มเติม ที่ LINNA Clinic นั้น เรามีทีมแพทย์ผู้ชำนาญการด้านการดูแลด้วยสเต็มเซลล์ พร้อมให้คำแนะนำอย่างละเอียด เพื่อให้ได้ทางเลือกที่ดีที่สุดในการดูแลสุขภาพและความงาม

Related Articles

Plaque X Treatment คืออะไร ช่วยล้างไขมันในเลือดได้จริงไหม อันตรายไหม

หลอดเลือด เป็นองค์ประกอบสำคัญของระบบไหลเวียนโลหิต ทำหน้าที่เป็นทางในการลำเลียงเลือดและสารอาหารไปยังอวัยวะต่างๆ ทั่วร่างกาย แต่เมื่ออายุมากขึ้นประกอบกับปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ทำให้เกิดการสะสมของไขมันและแคลเซียมบริเวณผนังหลอดเลือด จนก่อตัวเป็น “คราบพลัค” (Plaque) ตัวการหลักที่ทำให้หลอดเลือดตีบแคบลง ส่งผลให้หัวใจต้องทำงานหนักขึ้นและเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคต่างๆ เช่น ภาวะความดันโลหิตสูง หลอดเลือดแข็งตัว โรคหลอดเลือดหัวใจและสมอง ซึ่งอาจรุนแรงถึงขั้นทำให้ทุพพลภาพหรือเสียชีวิต LINNA Clinic (ลินนา คลินิก) ชวนทำความเข้าใจเกี่ยวกับ “คราบพลัคในเส้นเลือด” ตั้งแต่สาเหตุ การดูแล และแนวทางลดความเสี่ยง พร้อมแนะนำโปรแกรม Plaque X Treatment นวัตกรรมบำบัดที่ถูกออกแบบมาเพื่อช่วยลดไขมันและคราบพลัคในหลอดเลือด ให้คุณและคนที่คุณรักมีสุขภาพที่ดีได้อย่างยั่งยืน Table of Contents Plaque ในหลอดเลือดเกิดจากอะไร Plaque หรือ คราบพลัคในหลอดเลือด เกิดจากการสะสมของไขมัน คอเลสเตอรอล โลหะหนัก สารพิษต่างๆ แคลเซียม รวมถึงคราบสิ่งสกปรกที่เกาะอยู่ตามผนังหลอดเลือดเป็นเวลานานจนกลายเป็นก้อนตะกรันที่ขัดขวางการไหลเวียนของเลือด โดยมีสาเหตุหลักที่กระตุ้นให้เกิดคราบพลัคในหลอดเลือด ดังนี้ โรคประจำตัวบางชนิด เช่น โรคอ้วน เบาหวาน และภาวะความดันโลหิตสูง ที่มีส่วนกระตุ้นให้เกิดการอักเสบเรื้อรังภายในหลอดเลือด พันธุกรรม หากสมาชิกในครอบครัวมีประวัติเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจและสมอง

FAQs about EBOO Therapy: Common Questions Before Deciding to Proceed

EBOO Therapy (Extracorporeal Blood Oxygenation and Ozonation) is a therapy that uses medical grade filter to elimite waste and toxins in your blood and adding medical ozone into your blood, before safely returning it to the body. This process is notable for helping to eliminate toxins, increase oxygen in the blood, and stimulate the immune

EBOO Therapy: Blood Vessel Restoration Therapy After COVID-19 Vaccination

During the COVID-19 pandemic, vaccination has been a crucial measure for building herd immunity, reducing disease severity, and preventing death after infection. Although vaccines offer many benefits, they can cause side effects in some cases, such as thrombosis (blood clots). While rare, this is a concern for many people, especially those with pre-existing risk factors.

Scroll to Top