เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ นกเขาไม่ขัน ดีขึ้นได้ ด้วย 5 วิธีนี้ โดยไม่ต้องพึ่งยา

นกเขาไม่ขัน หรือ โรคเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ ไม่ใช่เรื่องน่าอาย แต่เป็นปัญหาสุขภาพที่คุณผู้ชายหลายคนต้องพบเจอ จากข้อมูลพบว่ามีผู้ชายมากกว่า 152 ล้านคนทั่วโลกที่กำลังประสบกับปัญหานี้โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่ออายุมากขึ้นหรือต้องเจอกับความเครียดในชีวิตประจำวัน ปัญหานกเขาไม่ขันไม่เพียงแต่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกาย แต่ยังสร้างบาดแผลทางจิตใจ ทำให้เกิดความวิตกกังวล ซึมเศร้าหรือรู้สึกไม่มั่นใจในตัวเอง นอกจากนี้ยังอาจส่งผลต่อความสัมพันธ์ในชีวิตคู่และการวางแผนมีบุตรในอนาคต หากคุณผู้ชายท่านไหนที่กำลังประสบปัญหานกเขาไม่ขัน อวัยวะเพศไม่แข็งตัว และกำลังมองหาวิธีฟื้นฟูร่างกายโดยไม่ต้องพึ่งพายา บทความนี้จาก LINNA Clinic มีคำตอบ

Table of Contents

โรคเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ คืออะไร

โรคเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ นกเขาไม่ขัน มีชื่อเรียกทางการแพทย์ว่า ภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ (Erectile Dysfunction: ED) คือ ภาวะที่อวัยวะเพศชายไม่แข็งตัว หรือไม่สามารถแข็งตัวได้นานพอสำหรับการมีเพศสัมพันธ์ ซึ่งอาจเกิดขึ้นเป็นครั้งคราวหรือเป็นประจำอย่างต่อเนื่องจนสร้างผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของคุณผู้ชายทั้งด้านสุขภาพร่างกายเนื่องจากภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ นกเขาไม่ขัน อาจเป็นสัญญาณขั้นต้นของโรคเรื้อรังต่างๆ เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคเบาหวานหรือความผิดปกติของฮอร์โมน ด้านอารมณ์และจิตใจ ทำให้คุณผู้ชายรู้สึกอับอาย วิตกกังวลหรือซึมเศร้า อีกทั้งยังส่งผลต่อชีวิตคู่ ทำให้ความสัมพันธ์เกิดความตึงเครียดและเปราะบาง

อาการและสาเหตุของโรคเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ อาการของโรคเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ นกเขาไม่ขัน

  • อวัยวะเพศไม่แข็งตัว ไม่สามารถทำให้อวัยวะเพศแข็งตัวได้ หรือแข็งตัวได้ไม่เพียงสำหรับการมีเพศสัมพันธ์
  • การแข็งตัวของอวัยวะเพศไม่คงที่ อวัยวะเพศสามารถแข็งตัวได้ในช่วงเริ่มต้นแต่ไม่สามารถรักษาสภาพการแข็งตัวไว้ได้ตลอดระยะเวลาการปฏิบัติกิจทางเพศ ส่งผลให้ไม่เกิดความพึงพอใจหรือความสำเร็จในการมีเพศสัมพันธ์
  • ความต้องการทางเพศลดลง ที่อาจเกิดขึ้นได้ในบางรายเนื่องจากความผิดปกติของฮอร์โมนเทสโทสเทอโรน (Testosterone) รวมไปจนถึงความเครียดและวิตกกังวลซึ่งส่งผลโดยตรงกับสมรรถภาพทางเพศ
  • มีปัญหาหลั่งเร็วหรือหลั่งช้า ทั้งการหลั่งที่เกิดขึ้นเร็วเกินไป (Premature Ejaculation) หรือความยากลำบากในการถึงจุดสุดยอด (Delayed Ejaculation) จนส่งผลต่อความพึงพอใจในชีวิตทางเพศ

สาเหตุของโรคเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ

จากข้อมูลทางการแพทย์พบว่าสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคเสื่อมสมรรถภาพทางเพศอาจเกิดขึ้นจาก สาเหตุทางด้านร่างกาย ด้านจิตใจ พฤติกรรม และอาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุร่วมกัน ดังนี้

  • ความผิดปกติของอวัยวะเพศ เช่น อวัยวะเพศสั้นหรือเล็กผิดปกติ (Micropenis) เนื่องจากการพัฒนาตัวได้ไม่เต็มที่ของอวัยวะเพศ โรคเพโรนีย์ (Peyronie’s Disease) ทำให้อวัยวะเพศมีลักษณะโค้งงอผิดปกติและแข็งตัวได้ยาก ความผิดปกติของหลอดเลือดและเส้นประสาทที่เชื่อมต่อกับอวัยวะเพศ รวมถึงการบาดเจ็บที่อวัยวะเพศ อุ้งเชิงกรานหรือไขสันหลัง ส่งผลให้อวัยวะเพศไม่แข็งตัว หรือแข็งตัวได้ไม่นานพอ
  • การเปลี่ยนแปลงด้านฮอร์โมน ภาวะพร่องฮอร์โมนเพศชาย ส่งผลให้ระดับเทสโทสเทอโรนลดลง หรือความไม่สมดุลของฮอร์โมนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบสืบพันธุ์
  • ผู้มีประวัติป่วยเป็นโรคเรื้อรัง เช่น โรคหลอดเลือดและหัวใจ โรคเบาหวาน โรคไต โรคทางระบบประสาท โรคอ้วน
  • ความผิดปกติด้านจิตใจ เช่น ความเครียดและวิตกกังวล ภาวะซึมเศร้า
  • การใช้ยารักษาโรคบางชนิดที่อาจส่งผลกระทบต่อแรงขับทางเพศ เช่น ยาต้านซึมเศร้า ยารักษาโรคลมชักและโรคชัก ยาลดความดันโลหิต ยากล่อมประสาท ยารักษาโรคพาร์กินสัน ยาต้านฮอร์โมนหรือยารักษามะเร็ง ฯลฯ
  • พฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น การสูบบุหรี่ การดื่มสุราและแอลกอฮอล์ การใช้ยาและสารเสพติด การขาดการออกกำลังกาย และการพักผ่อนไม่เพียงพอ

5 แนวทางการฟื้นฟูดูแลสำหรับลดภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ

ปัญหานกเขาไม่ขัน หรือภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ สามารถฟื้นฟูให้ดีขึ้นได้โดยไม่จำเป็นต้องพึ่งพายาเพียงอย่างเดียวเสมอไป ด้วยวิธีดูแลร่างกายและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมดังนี้

  • ลดหรืองดสูบบุหรี่ เพื่อช่วยฟื้นฟูการทำงานของหลอดเลือดและเพิ่มการไหลเวียนเลือดไปยังอวัยวะเพศ ลดโอกาสเกิดภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศอย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนี้การลดหรืองดสูบบุหรี่ยังช่วยปรับสมดุลฮอร์โมน และลดความเสี่ยงต่อโรคเรื้อรังอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน ฯลฯ
  • ออกกำลังกายเป็นประจำ เช่น การเดิน วิ่ง ว่ายน้ำ หรือการบริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน (Kegel Exercises) เพื่อกระตุ้นการไหลเวียนของเลือด ช่วยเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและฟื้นฟูสมรรถภาพทางเพศโดยรวม นอกจากนี้การออกกำลังกายเป็นประจำยังมีส่วนช่วยในการลดน้ำหนักซึ่งเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญของการเกิดโรคเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ
  • โปรแกรม Ozone Therapy ด้วย Eboo+ Technique นวัตกรรมทางเลือกเพื่อการบำบัดร่างกายด้วยการเติมโอโซนบริสุทธิ์ (Ozone) เข้ากับเลือดและกรองทำความสะอาดด้วยฟิลเตอร์ชนิดพิเศษ จากนั้นเลือดที่ได้รับการบำบัดจะถูกส่งกลับเข้าสู่ร่างกายอย่างช้าๆ วิธีนี้ช่วยเพิ่มออกซิเจนและพลังงานในระดับเซลล์ กระตุ้นการไหลเวียนโลหิต ลดการอักเสบและช่วยกำจัดสารพิษในหลอดเลือด ส่งผลให้หลอดเลือดแข็งแรงและทำงานได้อย่างเต็มที่ ช่วยฟื้นฟูดูแลและลดภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยทุกขั้นตอนของ โปรแกรม Ozone Therapy Eboo+ Technique ที่ LINNA Wellness อยู่ภายใต้การดูแลอย่างใกล้ชิดของอาจารย์แพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ในด้าน Ozone Therapy (EBOO PLUS Technique) มากกว่า 12 ปี และผ่านการดูแลผู้ป่วยมาแล้วกว่า 20,000 ราย จึงมั่นใจได้ในคุณภาพและความปลอดภัยของโปรแกรมบำบัด
  • ให้ฮอร์โมนชายทดแทน (Testosterone Replacement Therapy :TRT) ในกรณีที่ระดับฮอร์โมนเพศชายต่ำกว่าปกติแพทย์อาจพิจารณาการให้ฮอร์โมนเพศชายทดแทนด้วยการใช้ยารับประทาน การฉีดยา การใช้แผ่นแปะหรือการฝังฮอร์โมนใต้ชั้นผิวหนัง เพื่อฟื้นฟูแรงขับทางเพศ ช่วยเพิ่มระดับพลังงานและปรับปรุงการแข็งตัวของอวัยวะเพศให้ดีขึ้น โดยกระบวนการรักษานี้ควรอยู่ภายใต้การดูแลของผู้เชี่ยวชาญอย่างใกล้ชิดเพื่อป้องกันผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น
  • ลดความเครียดและจัดการอารมณ์ ความเครียดและความวิตกกังวลส่งผลโดยตรงต่อสมรรถภาพทางเพศ การจัดการอารมณ์ด้วยวิธีต่างๆ เช่น การทำสมาธิ โยคะ การพูดคุยกับนักจิตวิทยา หรือการทำกิจกรรมที่ช่วยผ่อนคลายเพื่อปรับสมดุลจิตใจ ลดความวิตกกังวลและเสริมความมั่นใจในตนเอง

โรคเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ นกเขาไม่ขัน อาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุร่วมกันซึ่งส่งผลกระทบโดยรวมทั้งต่อสุขภาพร่างกาย จิตใจ ตลอดไปจนถึงความสัมพันธ์ในชีวิตคู่ อย่างไรก็ตามสามารถใช้วิธีดูแลฟื้นฟูและลดภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศได้โดยไม่ต้องพึ่งยาด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพอย่างเหมาะสม พยายามงดหรือลดสูบบุหรี่ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ทำจิตใจให้แจ่มใส การปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อให้ฮอร์โมนทดแทน และนวัตกรรมทางเลือกเพื่อช่วยฟื้นฟูภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศด้วยโปรแกรม Ozone Therapy Eboo+ Technique โดยอาจารย์แพทย์ผู้มีประสบการณ์มากกว่า 12 ปี สำหรับผู้ที่สนใจสามารถติดต่อ LINNA Clinic เพื่อรับการประเมินอย่างละเอียดและวางแผนการฟื้นฟูสุขภาพได้ที่ไลน์ @linnaclinic หรือโทร 063-609-8888

Related Articles

Plaque X Treatment คืออะไร ช่วยล้างไขมันในเลือดได้จริงไหม อันตรายไหม

หลอดเลือด เป็นองค์ประกอบสำคัญของระบบไหลเวียนโลหิต ทำหน้าที่เป็นทางในการลำเลียงเลือดและสารอาหารไปยังอวัยวะต่างๆ ทั่วร่างกาย แต่เมื่ออายุมากขึ้นประกอบกับปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ทำให้เกิดการสะสมของไขมันและแคลเซียมบริเวณผนังหลอดเลือด จนก่อตัวเป็น “คราบพลัค” (Plaque) ตัวการหลักที่ทำให้หลอดเลือดตีบแคบลง ส่งผลให้หัวใจต้องทำงานหนักขึ้นและเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคต่างๆ เช่น ภาวะความดันโลหิตสูง หลอดเลือดแข็งตัว โรคหลอดเลือดหัวใจและสมอง ซึ่งอาจรุนแรงถึงขั้นทำให้ทุพพลภาพหรือเสียชีวิต LINNA Clinic (ลินนา คลินิก) ชวนทำความเข้าใจเกี่ยวกับ “คราบพลัคในเส้นเลือด” ตั้งแต่สาเหตุ การดูแล และแนวทางลดความเสี่ยง พร้อมแนะนำโปรแกรม Plaque X Treatment นวัตกรรมบำบัดที่ถูกออกแบบมาเพื่อช่วยลดไขมันและคราบพลัคในหลอดเลือด ให้คุณและคนที่คุณรักมีสุขภาพที่ดีได้อย่างยั่งยืน Table of Contents Plaque ในหลอดเลือดเกิดจากอะไร Plaque หรือ คราบพลัคในหลอดเลือด เกิดจากการสะสมของไขมัน คอเลสเตอรอล โลหะหนัก สารพิษต่างๆ แคลเซียม รวมถึงคราบสิ่งสกปรกที่เกาะอยู่ตามผนังหลอดเลือดเป็นเวลานานจนกลายเป็นก้อนตะกรันที่ขัดขวางการไหลเวียนของเลือด โดยมีสาเหตุหลักที่กระตุ้นให้เกิดคราบพลัคในหลอดเลือด ดังนี้ โรคประจำตัวบางชนิด เช่น โรคอ้วน เบาหวาน และภาวะความดันโลหิตสูง ที่มีส่วนกระตุ้นให้เกิดการอักเสบเรื้อรังภายในหลอดเลือด พันธุกรรม หากสมาชิกในครอบครัวมีประวัติเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจและสมอง

ภาวะดื้ออินซูลิน คืออะไร? ทำให้เกิดโรคอะไรได้บ้าง มีความเสี่ยงอย่างไร และแก้ไขได้อย่างไร?

เคยไหม? หิวบ่อย รู้สึกอยากของหวาน ทั้งที่เพิ่งรับประทานอาหารไปได้ไม่นาน น้ำหนักตัวขึ้นง่ายแต่ลดยาก หรือผิวพรรณเริ่มเปลี่ยนไปโดยไม่ทราบสาเหตุ อาการเหล่านี้อาจเป็นสัญญาณขั้นต้นของ ภาวะดื้ออินซูลิน (Insulin Resistance) ปัญหาสุขภาพที่เพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคเบาหวานประเภท 2 และปัญหาสุขภาพอื่นๆ ได้อีกมากมาย มีคนจำนวนไม่น้อยที่เผชิญกับภาวะดื้ออินซูลินโดยไม่รู้ตัว เนื่องจากในระยะแรกอาการมักไม่แสดงชัดเจน กว่าจะสังเกตเห็นความผิดปกติ ก็อาจเข้าสู่ระยะที่รุนแรงและจัดการได้ยาก บทความนี้จาก LINNA CLINIC (ลินนา คลินิก) ชวนทำความเข้าใจเกี่ยวกับภาวะดื้ออินซูลิน ตั้งแต่สาเหตุ อาการ ผลกระทบต่อร่างกาย และแนวทางรักษาฟื้นฟูภาวะดื้ออินซูลินให้ดีขึ้นเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งกว่า ภาวะดื้ออินซูลิน คืออะไร? ภาวะดื้ออินซูลิน (Insulin Resistance) คือ ภาวะที่เซลล์ในร่างกาย เช่น เซลล์กล้ามเนื้อ เซลล์ไขมัน และเซลล์ตับ ตอบสนองต่ออินซูลินได้น้อยลง ส่งผลให้ร่างกายต้องผลิตอินซูลินมากขึ้นเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้คงที่ เมื่อภาวะนี้ดำเนินต่อเนื่องเป็นเวลานาน ตับอ่อนจะเริ่มทำงานหนักจนเสื่อมสภาพและผลิตอินซูลินได้น้อยลง ระดับน้ำตาลในเลือดจึงเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องนำไปสู่การเกิดโรคเบาหวานประเภท 2 และโรคเรื้อรังอื่นๆ ในอนาคต สาเหตุของภาวะดื้ออินซูลิน ภาวะดื้ออินซูลินอาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ทั้งจากภายในร่างกายที่ควบคุมได้ยาก และจากปัจจัยภายนอกที่สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อช่วยลดความเสี่ยงได้ โดยมีสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดภาวะดื้ออินซูลิน ดังนี้ พันธุกรรม หากมีประวัติครอบครัวเป็นโรคเบาหวานชนิดที่

FAQs about EBOO Therapy: Common Questions Before Deciding to Proceed

EBOO Therapy (Extracorporeal Blood Oxygenation and Ozonation) is a therapy that uses medical grade filter to elimite waste and toxins in your blood and adding medical ozone into your blood, before safely returning it to the body. This process is notable for helping to eliminate toxins, increase oxygen in the blood, and stimulate the immune

Scroll to Top